การกินแบบ Ketogenic

 การกินแบบ Ketogenic

 ปัจจุบันนี้กระแสการลดน้ำหนักเปลี่ยนไปเรื่อยๆทุกปีไม่ต่างกับเทรนด์แฟชั่น ซึ่งในตอนนี้กระแสการกินแบบใหม่ที่ช่วยลดน้ำหนักที่กำลังได้รับความนิยมนั่นคือ คีโตเจนิก ไดเอต (Ketogenic Diet) หรือที่เรียกกันว่า คีโต ไดเอต (Keto Diet) ที่ยิ่งกินไขมันเท่าไร น้ำหนักก็ยิ่งลด!

 การกินแบบนี้คืออะไร ไขมันจะไปช่วยเบิร์นไขมันกันเองได้อย่างไร ช่วยให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว  จริงหรือไม่และเพราะอะไร? เราจึงขอสรุปให้ผู้ที่อยากลองไดเอตด้วยการกินอาหารที่มีไขมันแบบไม่รู้สึกผิดเหมือนการลดน้ำหนักแบบอื่นๆ มาฝากกันค่ะ

 คีโตเจนิก ไดเอต คืออะไร

 การกินอาหารแบบคีโตเจนิก ไดเอต (Ketogenic Diet) คือการกินที่เน้นไขมันสูง รองมาด้วยโปรตีน     โดยลดคาร์โบไฮเดรตให้เหลือในปริมาณที่น้อยมากๆ ลดการบริโภคคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลให้น้อย แต่ให้แทนที่ด้วยไขมันทั้งจากพืชและสัตว์แทน

 กินไขมันแล้วจะช่วยลดน้ำหนักได้จริงหรือ?!

 กินไขมันจะไปเบิร์นไขมันได้อย่างไรกัน จริงรึเปล่า!? คำตอบคือเมื่อเราลดปริมาณการกินคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลลงอย่างมาก ร่างกายอันน่าทึ่งของเราจากเดิมที่เคยนำกลูโคสในเลือดที่มาจากอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต น้ำตาล มาใช้เป็นพลังงาน ร่างกายจำต้องหาแหล่งพลังงานอื่นมาแทนที่ นั่นคือมาจากไขมันนั่นเอง กระบวนการนี้ก่อให้เกิดสภาวะการเผาผลาญที่เรียกว่า คีโตสิส (Ketosis) ทำให้เกิดสารที่เรียกว่า คีโตน (Ketone) ในตับ โดยหลังจากเริ่มการกินแบบคีโตเจนิกไปหลายวันหรือหลายสัปดาห์ ร่างกายและสมองอาจรู้สึกอ่อนล้า       เหนื่อยง่าย มีกลิ่นปาก แต่จะค่อยๆ ปรับจนสามารถนำไขมันและคีโตนมาใช้เป็นพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพแทนที่คาร์โบไฮเดรตนั่นเอง หรือเรียกง่ายๆ คือการเปลี่ยนร่างกายให้กลายเป็นเครื่องจักรกลเผาผลาญไขมันให้เป็นพลังงานในตัวเองนั่นเอง

 ต้องกินอย่างไร

 หากคุณอยากเริ่มต้นการกินแบบคีโตเจนิก สิ่งสำคัญที่ควรรู้คือการจำกัดปริมาณคาร์โบไฮเดรตให้ต่ำมากๆ

 โดยกินไขมันและน้ำมัน ซึ่งเป็นข่าวดีของคนชอบกินของมัน แต่ต้องเป็นไขมันที่มาจากธรรมชาติ ทั้งพืชและสัตว์ โดยพยายามกินไขมันต่างชนิดควบคู่กันไป เช่น ไขมันจากเนื้อสัตว์ เนื้อติดมัน ไขมันจากพืช เนย ชีส น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก อาหารจำพวกถั่ว เป็นต้น นอกจากนี้ สามารถเลือกกินเนื้อสัตว์และไข่ได้ แต่ในปริมาณที่เหมาะสม เน้นการกินผัก โดยเฉพาะจำพวกผักใบเขียว สามารถรับประทานอาหารที่ทำจากนม (แต่ควรเลี่ยงดื่มนม) โดยเน้นจำพวกที่ไม่พร่องมันเนย ดังนั้นเราสามารถสั่งกาแฟใส่ครีมแท้ (ครีมจริงๆ ที่ไม่ใช่คอฟฟีเมตนะ) แต่ที่ว่ามานี้ไม่รวมชีสเค้ก ชานมไข่มุก ชาเย็น หรือเวลาว่างกินเพลินๆ ก็คงจะเป็นการกินถั่วและธัญพืชอย่างแมคคาเดเมีย หรืออัลมอนด์ ที่ทั้งมันและอร่อย

 ต้องเลี่ยงกินอะไรบ้าง

 เลี่ยงอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลสูงเป็นหลัก อาทิ อาหารจำพวกข้าวและแป้งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้าวบาร์เลย์, ข้าวสาลี, ข้าวไรย์, ข้าวโพด, ข้าวโอ๊ต ฯลฯ รวมไปถึงข้าวเจ้าที่เรากินกันอยู่ทุกวันเช่นกัน (รวมข้าวต้มและโจ๊กด้วยนะ) และผลิตภัณฑ์จากข้าวต่างๆ ทั้งพาสต้า, พิซซ่า, คุกกี้, ขนมปัง, เค้ก ฯลฯ ถ้าเลี่ยงได้ก็จะดี    เพราะอย่าลืมว่าเรากำลังลดคาร์โบไฮเดรตอยู่ นอกจากนี้ ควรเลี่ยงอาหารแปรรูปจำพวกไส้กรอก หมูยอ ลูกชิ้น เนื่องจากมักมีสารสังเคราะห์ ไปจนถึงแป้งที่มักเป็นส่วนประกอบหนึ่งของการผลิต ที่สำคัญสิ่งหนึ่งที่เราจะลืมไม่ได้คือไขมันทรานส์ เพราะถึงแม้ว่าการกินแบบ Ketogenic จะเน้นให้กินแต่ไขมัน แต่ควรเป็นไขมันที่มาจากไขมันสัตว์ หรือพืชอย่างอะโวคาโด เป็นต้น นอกจากนี้ สายไดเอทมักคิดว่า การลดน้ำหนักกินน้ำผลไม้แทนก็ได้ แต่ลืมคิดไปว่าผลไม้และน้ำผลไม้มักมีน้ำตาลสูง โดยเฉพาะน้ำสับปะรด แตงโม กล้วย หรือมะม่วงสุก รวมถึงผลไม้อบแห้ง แช่อิ่ม และดองต่างๆก็ด้วยนะคะ ควรกินในปริมาณที่พอเหมาะหรือน้อยมากๆจะดีกว่าค่ะ

 สำหรับการกินแบบคีโตเจนิกนั้นอาจเหมาะกับผู้ที่รักการกินไขมันอย่างเอร็ดอร่อยมากกว่าสายคลีน แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะเอ็นจอยการกินไขมันในปริมาณเยอะพอตัวในแต่ละวัน การกินแบบนี้ก็มีข้อควรระวังที่ผู้ต้องการลดน้ำหนักต้องรู้เช่นกัน อาทิ

 *อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ เพลีย นอนไม่หลับ ท้องผูก (Keto Flu) ในระยะแรกๆของการทำ Ketogenic Diet

*เพิ่มความเสี่ยงการเกิดนิ่วที่ไต โดยเฉพาะในคนที่มีประวัติครอบครัว หรือมีสัดส่วนของแคลเซียมต่อ ครีเอตินีนในปัสสาวะสูง

*ผู้ที่มีภาวะผิดปกติเรื่องตับ ตับอ่อน หรือประวัติโคเลสเตอรอลในเลือด หรือไขมันในเลือดสูงควรระวังและปรึกษาแพทย์ หรือนักกำหนดอาหารก่อนทำ Ketogenic Diet เพราะอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพอย่างถาวรได้

*การจำกัดคาร์โบไฮเดรตมากๆอาจทำให้ขาดสารอาหารบางชนิด รวมทั้งวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งอาจจะต้องกินเสริม

*ในระยะยาวอาจจะมีปัญหา adherence หรือการทำ Ketogenic Diet ให้ต่อเนื่อง เนื่องจากการกินของคนไทยนั้น หนึ่งมักจะทานนอกบ้าน สองเป็นกิจกรรมหมู่ และ สามเราเป็นประเทศที่เน้นกินข้าวเป็นหลัก

*การเลือกกินไขมันดี คือไขมันไม่อิ่มตัวทั้งเชิงเดี่ยว (mono-unsaturated fat) และไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (poly-unsaturated fat) เป็นหัวใจสำคัญของการเลือกกินคีโตที่ถูกต้อง ไขมันอิ่มตัวจากแหล่งเนื้อสัตว์หรือพืช เช่น น้ำมันปาล์มหรือน้ำมันมะพร้าว อาจทำให้มีปัญหาหลอดเลือดหัวใจตามมาในอนาคต

*การจำกัดอาหารหรือใช้วิธีการลดน้ำหนักแบบเร่งรัด อาจทำให้น้ำหนักที่ลดลงนั้นไม่ยั่งยืน และอาจก่อให้เกิดปัญหาพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติ (eating disorder) ตามมาในระยะยาว

 

 จากที่กล่าวมาข้างต้น อยากให้สาวกสายคีโตเจนิก ควรมีความมั่นใจเสียก่อนว่าร่างกายของคุณสมบูรณ์แข็งแรงพร้อมกับการกินสายนี้ และควรไปตรวจสุขภาพ ตลอดจนปรึกษาแพทย์ หรือขอคำแนะนำจากนักโภชนาการเสียก่อนเพื่อความปลอดภัยนะคะ

 แต่สิ่งหนึ่งที่เราขอแนะนำการลดหุ่นสวย ผอมเพรียวอย่างมีสุขภาพดี และถูกต้องตามหลักโภชนาการนั้นต้องเลือกกินอาหารให้หลากหลายครบทั้ง 5 หมู่ และในปริมาณที่พอดี เน้นผัก และผลไม้รสไม่หวานจัดให้มาก  ลดหวาน มัน เค็ม ร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้สดชื่น ไม่เครียด

“เท่านี้เราก็จะมีหุ่นฟิตแอนด์เฟิร์มแถมสุขภาพแข็งแรง ห่างไกลโรคอีกด้วยค่ะ”

ที่มา:กรมนามัย

ฉลากหวาน มัน เค็ม (ฉลาก GDA)

 เป็นฉลากที่บังคับให้แสดงบนอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที เช่น ขนมขบเคี้ยว ช็อกโกแลต ขนมอบ อาหารกึ่งสำเร็จรูป และอาหารแช่เย็นหรือแช่แข็ง ซึ่งฉลากหวาน มัน เค็ม หรือฉลากโภชนาการแบบ GDA (Guideline Daily Amounts) เป็นฉลากที่แสดงค่าพลังงาน (กิโลแคลอรี) น้ำตาล (กรัม) ไขมัน (กรัม) และโซเดียม (มิลลิกรัม) ของอาหารทั้งหมดที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์นั้น (เช่น ซอง ถุง กล่อง ฯลฯ) โดยจะอยู่ด้านหน้าบนฉลากผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ เราสามารถใช้ข้อมูลจากฉลากหวาน มัน เค็ม ในการช่วยควบคุมการได้รับพลังงาน หรือลดการบริโภคน้ำตาล ไขมัน โซเดียม นอกจากนี้ ยังช่วยเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารชนิดเดียวกันโดยการเปรียบเทียบอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการให้เหมาะสมกับตนเอง เช่น ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำตาลหรือไม่ต้องการเป็นโรคเบาหวาน เลือกบริโภคที่มีค่าน้ำตาลน้อยกว่า ผู้ที่ไม่ต้องการเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือโรคไต ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมหรือเลือกที่มีค่าโซเดียมน้อยกว่า

ที่มา:สำนักกงานคณะธกรรมการอาหารและยา

สถิติผู้เข้าชม

9721951
วันนี้
เมื่อวาน
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทุกวัน
6407
5025
11432
24456
149563
9721951

กลุ่มงาน

ควบคุมโรคติดต่อ
ควบคุมโรคไม่ติดต่อ สุขภาพจิตฯ
คุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข
ทันตสาธารณสุข
นิติการ
บริหารทรัพยากรบุคคล
บริหารทั่วไป

และหน่วยงานภายใน

ประกันสุขภาพ
พัฒนาคุณภาพและรูปแบบบริการ
พัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข
แพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
ส่งเสริมสุขภาพ
อนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอานามัย
สำนักงานเลขานุการและอำนวยการ
สหกรณ์ออมทรัพย์

ติดต่อเรา

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

037 211 626

037 211 124

104 ม.8 ต.รอบเมือง อ.เมืองปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี 25000
  (เลขเสียภาษี 0994000261438)