กรมอนามัย ชวน อปท.รณรงค์ “วันน้ำโลก”ทำน้ำประปาในชนบทให้สะอาด เพียงพอ เท่าเทียม

               กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้มงวดผู้ดูแลระบบประปาหมู่บ้านในการเติมคลอรีนฆ่าเชื้อโรคในน้ำประปา เพื่อให้มีน้ำประปาที่สะอาด เพียงพอ บริการแก่ประชาชนในเขตชนบทอย่างเท่าเทียม

              นายแพทย์ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า องค์การสหประชาชาติ (UN) ได้ประกาศให้วันที่ 22 มีนาคมของทุกปีเป็น "วันน้ำโลก” หรือ "World Day for Water” ในปีนี้ได้กำหนดประเด็นหลักในการรณรงค์ในระดับโลก คือ "Leaving no one behind : เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง" เพื่อกระตุ้นให้ผู้คนทั่วโลกเกิดความตื่นตัว เรื่องการบำรุงรักษา อนุรักษ์ พัฒนาแหล่งน้ำ และจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน ซึ่งจากการสุ่มตรวจคุณภาพน้ำประปาหมู่บ้านในปี 2561 จำนวน 445 แห่ง พบว่า คุณภาพน้ำประปาหมู่บ้านผ่านเกณฑ์คุณภาพน้ำประปา ดื่มได้กรมอนามัย เพียงร้อยละ 19.1 ส่วนมากจะปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียและฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย บ่งบอกว่าน้ำประปาหมู่บ้านมีโอกาสปนเปื้อนเชื้อโรคสูง สาเหตุมาจากไม่มีการเติมคลอรีนฆ่าเชื้อโรค นอกจากนี้ ในหน้าร้อนที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดีขึ้นประกอบกับคลอรีนอิสระที่หลงเหลือในน้ำประปาก็สามารถสลายตัวได้ง่ายขึ้น อาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคทางเดินอาหารที่มาจากน้ำไม่สะอาด กรมอนามัยจึงขอความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้มงวดผู้ดูแลระบบประปาหมู่บ้านในการเติมคลอรีนฆ่าเชื้อโรคในน้ำประปา เพื่อให้มีน้ำประปาที่สะอาด เพียงพอ บริการแก่ประชาชนในเขตชนบทอย่างเท่าเทียมกับประชาชนในเขตเมือง รวมทั้งยังเป็นการร่วมกันรณรงค์ เนื่องในวันน้ำโลกอีกด้วย
          ​ นายแพทย์ดนัย กล่าวต่อไปว่า คุณภาพน้ำประปานอกจากจะต้องได้มาตรฐานตามเกณฑ์คุณภาพน้ำประปา ดื่มได้ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกแล้ว น้ำประปาควรมีคลอรีนอิสระหลงเหลืออยู่ 0.2 - 0.5 ส่วนในล้านส่วนหรือมิลลิกรัมต่อลิตร จึงจะสามารถป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรคได้ ทั้งนี้ ประชาชนที่บริโภคน้ำประปาในช่วงหน้าร้อนอาจจะได้กลิ่นคลอรีนแรงมากขึ้น อาจจะจะตั้งทิ้งไว้ก่อนประมาณ 30 นาทีเพื่อให้คลอรีนระเหยไปหรืออาจจะใช้เครื่องกรองที่มีถ่านกัมมันต์หรือ Activated carbon เป็นสารกรองเพื่อกำจัดคลอรีนในน้ำประปาก่อนนำมาบริโภคในครัวเรือนก็ได้ และในกรณีที่จำเป็นต้องนำขวดพลาสติกเก่ามาใช้ก็ควรทำความสะอาดให้ทั่วถึงและต้องสังเกตลักษณะของขวด หากมีรอยชำรุด รั่ว แตกร้าว บุบ ก็ไม่ควรนำมาใช้ หรือหากเป็นขวดที่มีการปนเปื้อนดินก็ควรหลีกเลี่ยงในการนำมาใช้ซ้ำเช่นกัน ซึ่งในปี​ 2561​ กรมอนามัยได้สุ่มเก็บตัวอย่างน้ำดื่มบรรจุขวด​ ขนาด​ 20​ ลิตรในครัวเรือน เพื่อตรวจสอบคุณภาพตามเกณฑ์คุณภาพน้ำประปาดื่มได้​ พบผ่านเกณฑ์มาตรฐาน​ ร้อยละ​ 53.42 โดยส่วนใหญ่มีการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียและฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย​ แสดงว่ามีความเสี่ยงที่น้ำดื่มบรรจุภาชนะดังกล่าวจะเกิดการปนเปื้อน​ ซึ่งการดูแลรักษาความสะอาดภาชนะก็มีส่วนที่ทำให้น้ำดื่มมีความสะอาดปลอดภัย ประชาชนจึงควรให้ความสำคัญ​ นอกจากนี้ ต้องระวังการขัดถูเพื่อล้างทำความสะอาดภาชนะพลาสติก​อาจทำให้เกิดรอยขูดขีดหรือการบุบชำรุดของขวดที่เกิดจากการนำมาใช้ซ้ำ หรือหากขวดน้ำตั้งอยู่ในบริเวณที่มีความร้อนหรือได้รับแสงแดดอาจทำให้สารเคมีจากขวดพลาสติกปนเปื้อนลงในน้ำที่อยู่ในขวดได้
            ​"ทั้งนี้ สำหรับในพื้นที่ทุรกันดารที่ขาดแคลนน้ำสะอาด ก่อนนำมาดื่มควรต้มให้เดือดอย่างน้อย 1-2​ นาที เก็บในภาชนะที่สะอาด มีฝาปิดมิดชิด ส่วนการนำน้ำจากแม่น้ำ ลำคลอง หรือแหล่งน้ำผิวดินแหล่งอื่น ๆ มาใช้โดยตรง ควรปรับปรุงคุณภาพน้ำและฆ่าเชื้อโรคก่อน ด้วยการแกว่งสารส้มชนิดก้อนในน้ำและให้สังเกตตะกอนในน้ำ หากเริ่มจับตัวให้ตั้งทิ้งไว้จนตกตะกอน แล้วนำเฉพาะน้ำใสมาฆ่าเชื้อโรคโดยใช้หยดทิพย์ อ.32 ของกรมอนามัย ซึ่งเป็นสารละลายคลอรีนชนิดเข้มข้น 2 เปอร์เซ็นต์ ในอัตราส่วน 1 หยดต่อน้ำ 1 ลิตร​ ปล่อยไว้ให้มีระยะเวลาฆ่าเชื้อโรคอย่างน้อย 30 นาที ก่อนนำไปใช้จะช่วยป้องกันเชื้อโรคที่ปนเปื้อนในน้ำ ที่สำคัญควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนกรอง​ รองหรือตักน้ำใส่ภาชนะบรรจุ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของจุลินทรีย์จากมือที่ไม่สะอาด ช่วยให้ประชาชนได้บริโภคน้ำที่สะอาด ปลอดภัย เป็นการป้องกันการเจ็บป่วยจากโรคที่เกิดจากน้ำเป็นสื่อ” รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
 

พิมพ์  

สถิติผู้เข้าชม

8019536
วันนี้
เมื่อวาน
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทุกวัน
5394
16157
71865
276773
477960
8019536

กลุ่มงาน

ควบคุมโรคติดต่อ
ควบคุมโรคไม่ติดต่อ สุขภาพจิตฯ
คุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข
ทันตสาธารณสุข
นิติการ
บริหารทรัพยากรบุคคล
บริหารทั่วไป

และหน่วยงานภายใน

ประกันสุขภาพ
พัฒนาคุณภาพและรูปแบบบริการ
พัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข
แพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
ส่งเสริมสุขภาพ
อนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอานามัย
สำนักงานเลขานุการและอำนวยการ
สหกรณ์ออมทรัพย์

ติดต่อเรา

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

037 211 626

037 211 124

104 ม.8 ต.รอบเมือง อ.เมืองปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี 25000
  (เลขเสียภาษี 0994000261438)