ประชาสัมพันธ์

อาหารเสริมไม่ใช่ยารักษาโรค

ชัวร์แน่แชร์เลย !  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม อกฟู รูฟิต ไร้ประโยชน์ มีแต่โทษ มีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมากมายเลยในปัจจุบันที่มีการกล่าวอ้างให้บำรุงและป้องกันสารพัดโรคโดยไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ยิ่งกินเยอะ ยิ่งได้ผลเร็ว ซึ่งในความจริงแล้วการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยเฉพาะในผลิตภัณฑ์ที่มีสารสกัดเข้มข้นในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่ใช่ยารักษาโรค ไม่ได้ช่วยเสริมเรื่องทางเพศ ควรใช้วิจารณญาณพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อย่าหลงเชื่อสรรพคุณว่าสามารถป้องกันหรือรักษาโรค นอกจากคุณจะเสียเงินโดยไม่จำเป็นแล้ว ยังอาจได้รับผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อร่างกายโดยคาดไม่ถึงได้ ที่ผ่านมา อย กล่าวอ้างสรรพคุณเกินจริงในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะลดน้ำหนัก เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ ทำให้ผิวขาวใส ฟิต หุ่นเฟิร์ม หรือใช้บุคคลเป็นตัวแทนบอกเล่าสรรพคุณการใช้ ส่วนใหญ่พบโฆษณาในลักษณะขายตรง ซึ่งสินค้าเหล่านี้จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ขอขึ้นทะเบียนและขออนุญาตโฆษณาจาก อย.

        มีกรณีผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ .อกฟู รูฟิต” ที่ได้รับผลข้างเคียงถึงขั้นต้องผ่าตัดก้อนเนื้อในมดลูก ระบุว่ากินติดต่อกันมานานถึง 6 ปีในปริมาณ2- 6 เม็ดและเพิ่มปริมาณเป็น 10 เม็ดต่อวัน โดยผู้ขายสินค้าอธิบายว่ายิ่งกินมากยิ่งได้ผลเร็ว ทั้งที่จริงแล้วเรานั้นไม่จำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้รับประทานโดยตรง นอกเหนือจากการรับประทานอาหารหลักเพื่อเสริมสารบางอย่าง มีจุดมุ่งหมายสำหรับบุคคลทั่วไปที่มีสุขภาพปกติ ไม่ใช่ผู้ป่วย และไม่ควรให้เด็กและสตรีมีครรภ์รับประทาน หากจำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ต้องตรวจสอบข้อมูลโฆษณา ข้อความบนฉลาก ซึ่งต้องแสดงข้อความภาษาไทย ได้แก่ ชื่ออาหาร เลขสารบบอาหารในกรอบเครื่องหมาย อย.  ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต/ผู้แบ่งบรรจุ หรือผู้นำเข้า (ในผลิตภัณฑ์นำเข้าต้องระบุประเทศผู้ผลิตด้วย) ส่วนประกอบสำคัญ วันเดือนปีที่ผลิต และวันเดือนปีที่หมดอายุ  ให้แน่ชัดก่อนตัดสินใจซื้อ 
        
         สรุปเลยว่า ไม่มีผลิตภัณฑ์อาหารเสริมไหนดีไปกว่าการที่เราดูแลสุขภาพตัวเอง เพียงรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอแค่นั้นเอง

อย.แจงกรณีพบยาปฏิชีวนะในปลาดอร์ลี่

อย. แจงกรณีผลวิจัยพบยาปฏิชีวนะในปลาดอร์ลี่ จากการสุ่มตรวจปลาที่จำหน่ายในท้องตลาด ไม่พบการปนเปื้อนของยาปฏิชีวนะ ส่วนปลานำเข้า มีการตรวจสอบโลหะหนัก วอนผู้บริโภคอย่าตื่นตระหนก ปลาดอร์ลี่ที่ผ่านการปรุงสุกสามารถลดปริมาณยาปฏิชีวนะที่ปนเปื้อนได้

          นายแพทย์สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยต่อผู้สื่อข่าวว่า จากกรณีที่มีข่าวการเปิดเผยผลงานวิจัยพบสารปนเปื้อนยาปฏิชีวนะในปลาดอร์ลี่ที่นำเข้ามีค่าเกินค่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนด ซึ่งอาจทำให้เกิดเชื้อดื้อยาในคนนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าวที่ได้รับจากข่าว ยังไม่ทราบรายละเอียดที่ชัดเจน โดยทาง อย. จะได้ประสานกับผู้วิจัยเพื่อวิเคราะห์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการปนเปื้อนยาปฏิชีวนะต่อไป อย่างไรก็ตาม อย. มีการกำกับดูแลความปลอดภัยผลิตภัณฑ์อาหารจากสัตว์ (รวมถึง กุ้ง และปลา) ที่มีการผลิตและนำเข้าเพื่อจำหน่ายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค โดยการสุ่มตัวอย่างเฝ้าระวัง ตามหลักการวิเคราะห์ความเสี่ยง โดยในแต่ละปี อย. ได้มีการสุ่มตรวจวิเคราะห์หาปริมาณสารปนเปื้อนยาปฏิชีวนะในผลิตภัณฑ์อาหารที่จำหน่ายในประเทศ เช่น ตลาดสด จำพวกเนื้อสัตว์ (หมู/กุ้ง/ไก่/เครื่องใน/ปลา) โดยตรวจหายาปฏิชีวนะสัตว์ ซึ่งรวมทั้งยาปฏิชีวนะในกลุ่ม Tetracyclines และ กลุ่ม Sulfonamides ซึ่งไม่พบการปนเปื้อนแต่อย่างใด สำหรับในส่วนของปลาที่นำเข้าจากต่างประเทศนั้น มีการสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์นำเข้า ณ ด่านนำเข้าทุกแห่ง เพื่อตรวจวิเคราะห์หาโลหะหนัก ผลปรากฏว่า ไม่พบการปนเปื้อนเกินมาตรฐานความปลอดภัย

          จากกรณีข่าวผลการวิจัยนี้ ขอให้ผู้บริโภคอย่าตื่นตระหนก เนื่องจากยาปฏิชีวนะที่พบสามารถสูญสลายได้หากผ่านความร้อนจากการปรุงอาหาร และโดยปกติการรับประทานปลาดอร์ลี่จะเป็นการรับประทานที่ผ่านการปรุงสุกแล้ว หากมีสารหลงเหลืออยู่ ก็เป็นปริมาณน้อยมาก ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย อย่างไรก็ดี อย. มีมาตรการกำกับดูแลอย่างต่อเนื่อง โดยจะทำการสุ่มตัวอย่างหายาปฏิชีวนะในปลาดอร์ลี่ เพื่อตรวจสอบสถานการณ์การปนเปื้อนยาปฏิชีวนะในปลาดอร์ลี่ ทั้งนี้ ทาง อย. จะได้มีการประสานกับผู้วิจัยเพื่อนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ต่อไป

ที่มา:สำนักกงานคณะธกรรมการอาหารและยา

ความปลอดภัยในอาหาร

แจง ยังไม่มีผลิตภัณฑ์เนื้อวัวฉีดไขมันได้รับอนุญาตกับ อย. ความปลอดภัยขึ้นกับสารที่ฉีด 

ผลิตภัณฑ์อย. เผยข้อมูล ขณะนี้ยังไม่มีเนื้อวัวฉีดไขมันได้รับอนุญาตจาก อย. แต่ได้วางแนวทางพิจารณาไว้แล้ว โดยสารที่ฉีดต้องมีความปลอดภัยตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่องวัตถุเจือปนอาหารและต้องแสดงฉลากแจ้งผู้บริโภคทราบ เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดและเพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้ที่แพ้สารฉีดนั้น

           นายแพทย์พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีการส่งต่อข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อวัวฉีดไขมันทางสื่อออนไลน์ ซึ่งมีผู้เกรงว่าจะมีความปลอดภัยหรือไม่นั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอชี้แจงว่า เนื้อฉีดไขมัน (Artificial Marbling beef) เป็นการฉีดของเหลวที่มีส่วนประกอบของไขมัน น้ำ และวัตถุเจือปนอาหาร โดยใช้เครื่องจักรหรือเครื่องมือที่มีลักษณะ  เป็นเข็ม เข้าไปในเนื้อวัว ทำให้ได้เนื้อวัวที่มีลักษณะไขมันแทรก ซึ่งสถานที่ผลิตเนื้อฉีดไขมัน จะต้องปฏิบัติตามวิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย (Primary GMP) และการใช้วัตถุเจือปนอาหารในการผลิตเนื้อฉีดไขมัน ต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 389 พ.ศ. 2561 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 5) ตลอดจนต้องมีการแสดงฉลากให้ถูกต้องตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยเรื่องการแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ เช่น ชื่ออาหาร ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต น้ำหนักสุทธิ วันเดือนปีควรบริโภคก่อน ข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร และข้อมูลการใช้วัตถุเจือปนอาหาร เป็นต้น และต้องมีข้อความแสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์บนฉลากอาหารว่าเป็นเนื้อโคฉีดไขมัน เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดว่าเป็นเนื้อโคที่มีไขมันแทรกธรรมชาติ

           ทั้งนี้ การฉีดไขมันในเนื้อโค ต้องได้รับการเห็นชอบจาก อย. ก่อน โดยผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือผู้จำหน่าย จะต้องแสดงรายละเอียดของกรรมวิธีการผลิตในการฉีดไขมัน เงื่อนไขการใช้วัตถุเจือปนอาหารพร้อมเหตุผลการใช้และมาตรฐานอ้างอิง ซึ่งหากไม่สอดคล้องตามข้อกำหนดของประกาศกระทรวงสาธารณสุขจะต้องยื่นขอประเมินความปลอดภัยของวัตถุเจือปนอาหารก่อน รวมทั้งแสดงฉลากอาหาร แนวทางการควบคุมการผลิต นำเข้าหรือจำหน่าย เช่น จำหน่ายเฉพาะร้านอาหาร หรือมาตรการป้องกันความเข้าใจผิดของผู้บริโภคว่า เป็นเนื้อโคที่มีไขมันแทรกธรรมชาติ ประกอบการพิจารณา อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่พบการอนุญาตผลิตภัณฑ์เนื้อโคฉีดไขมันแต่อย่างใด หากผู้ใดประสงค์จะผลิตหรือนำเข้า จะต้องขอความเห็นชอบจาก  อย. ก่อน หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท

ที่มา:สำนักกงานคณะธกรรมการอาหารและยา

สถิติผู้เข้าชม

9869353
วันนี้
เมื่อวาน
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทุกวัน
6023
7932
18859
22106
149752
9869353

กลุ่มงาน

ควบคุมโรคติดต่อ
ควบคุมโรคไม่ติดต่อ สุขภาพจิตฯ
คุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข
ทันตสาธารณสุข
นิติการ
บริหารทรัพยากรบุคคล
บริหารทั่วไป

และหน่วยงานภายใน

ประกันสุขภาพ
พัฒนาคุณภาพและรูปแบบบริการ
พัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข
แพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
ส่งเสริมสุขภาพ
อนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอานามัย
สำนักงานเลขานุการและอำนวยการ
สหกรณ์ออมทรัพย์

ติดต่อเรา

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

037 211 626

037 211 124

104 ม.8 ต.รอบเมือง อ.เมืองปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี 25000
  (เลขเสียภาษี 0994000261438)